วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ฟอร์มของกุลธิดา

ฟอร์มของบุณยาภรณ์ ลาวัณลักขณา

ฟอร์มของสุจิตรา ระเบียบ

ฟอร์มของอภัสรา

วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563


 ยุค lot

Industrial Internet of Things หรือ IIoT คือ การนำเครื่องจักร ระบบการวิเคราะห์ขั้นสูง และคนมาทำงานร่วมกันผ่านโครงข่ายของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร ส่งผลให้เกิดระบบที่สามารถติดตาม เก็บข้อมูล แลกเปลี่ยนและแสดงผลข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ อย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน ข้อมูลดังกล่าวสามารถช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างชาญฉลาดและรวดเร็วยิ่งขึ้น
 IIoT ช่วยปรับปรุงการเชื่อมต่อ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร ยืดหยุ่น ประหยัดเวลา และประหยัดค่าใช้จ่ายในการวางแผนการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริษัทที่มีความพร้อม เริ่มได้รับประโยชน์จาก IIoT ในการลดต้นทุนการผลิตจากการบำรุงรักษาที่คาดการณ์ล่วงหน้า (Predictive maintenance) การตรวจสถานะของเครื่องจักร (Monitor) และหลีกเลี่ยงการ Downtime ของระบบเพิ่มความปลอดภัยและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในส่วนอื่นได้ดียิ่งขึ้น ระบบเครือข่าย IIoT สามารถเชื่อมต่อข้อมูลขนาดใหญ่ของแต่ละหน่วยงาน ตั้งแต่ไลน์การผลิต ไปจนถึงระดับออฟฟิศและทุกคนในองค์กรอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะทำให้ผู้บริหารสามารถใช้ข้อมูลจาก IIoT ได้อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพซึ่งจะเป็นตัวแปรสำคัญนำไปสู่การตัดสินใจในอนาคต การขยายตัวของ IoT สำหรับภาคอุตสาหกรรมและโรงงานการผลิต (Industrial Internet of Thing – IIoT) 

                                

ยุค Al

ในช่วง 1- 2 ปีที่ผ่านมา คำว่า “AI” กลายเป็นคำยอดฮิตที่พูดถึงกันแพร่หลาย แต่ AI (Artificial Intelligence) หรือในหมู่คนไทยเรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์ ที่ฉลาดมากๆ นี้เกิดขึ้นจากแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ที่เกิดจากเทคโนโลยีที่คนเราเป็นคนสร้างขึ้นผ่านการป้อนข้อมูลและด้วยเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning) และการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) ทำให้วันนี้ AI สามารถจดจำ สร้างระบบการคำนวณ พร้อมวิเคราะห์ข้อมูลได้เอง

อุปกรณ์ใกล้ตัวทั้งหมดเหล่านี้ ล้วนแต่มีการใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และอำนวยความสะดวก สร้างความสะดวกสบายให้แก่มนุษย์แทบทั้งสิ้น

หากมองในเชิงของธุรกิจ AI ก็เป็นตัวแปรสำคัญที่ช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถออกแบบสินค้าและบริการให้เข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล ที่มีไลฟ์สไตล์ที่แตกต่าง ยกตัวอย่าง ธนาคาร สถาบันการเงินของไทยทุกวันนี้ต่างทุ่มงบในการทำ R&D (Research and development) นำเทคโนโลยี AI มาใช้เพื่อช่วยรวบรวมและประมวล BIG DATA หรือ ข้อมูลธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าที่มีอยู่มหาศาล เพื่อวิเคราะห์ และปล่อยสินเชื่อที่เหมาะสมให้แก่ลูกค้าในแต่ละราย ซึ่งการนำ AI มาช่วยแบบนี้ไม่เพียงเข้าถึงลูกค้า และตอบโจทย์สินเชื่อได้แบบเฉพาะคนเฉพาะกลุ่มมากขึ้น ในมุมของธนาคารยังลดต้นทุน และความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิด สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือที่ได้ยินกันคุ้นหูว่า NPL (Non-Performing Loan)

นอกจากในเชิงของธุรกิจแล้ว ทางภาครัฐยังมีการนำ AI มาช่วยจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อสร้างประโยชน์แก่คนไทยในเชิงมหาภาคด้วย อาทิ การบูรณาการทางด้านครอบครัว โดยมีการนำ AI สร้างสูตรสำหรับคัดกรองพ่อและแม่ที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรให้มีคุณภาพที่ดีได้ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐสามารถวางแผนให้ความช่วยเหลือกับพ่อและแม่ ให้สามารถเลี้ยงดูเด็กอย่างมีคุณภาพ เป็นเยาวชนที่ดีในอนาคตได้



Big data

ทำไมต้อง Big Data?

     ปัจจุบัน เราทุกคนใช้งานโซเชียลมีเดีย เช่น You tube, Facebook, Twitter, Google, Netflix, Walmart, Starbucks สิ่งหนึ่งที่ทำให้โซเชียลมีเดียเหล่านี้ประสบความสำเร็จ คือ Big Data เป็นการนำข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ได้จากการให้บริการมาใช้วิเคราะห์ เพื่อหาโอกาสทางธุรกิจ ใช้ประกอบการตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ ทั้งการพัฒนาด้านการขายและการตลาด การปรับปรุงสินค้าบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงภาคการผลิตที่นำข้อมูล Big Data ไปใช้ในการวิเคราะห์เพื่อเพิ่ม Productivity ในกระบวนการผลิตและการดำเนินงาน

ZXZX

Big Data คืออะไร

     Big Data คือ ข้อมูลขนาดใหญ่/ปริมาณมาก หรือ ข้อมูลจำนวนมากมหาศาล ทุกเรื่อง ทุกแง่มุม ทุกรูปแบบ ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้างชัดเจน (Structured Data) เช่น ข้อมูลที่เก็บอยู่ในตารางข้อมูลต่างๆ หรืออาจเป็นข้อมูลกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-Structured Data)  เช่น ล็อกไฟล์ (Log files) หรือแม้กระทั่งข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) เช่น ข้อมูลการโต้ตอบปฏิสัมพันธ์ผ่านสังคมเครือข่าย (Social Network) เช่น Facebook, twitter หรือ ไฟล์จำพวกมีเดีย เป็นต้น ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลภายในองค์กรและภายนอกที่มาจากการติดต่อระหว่างองค์กร หรือจากทุกช่องทางการติดต่อกับลูกค้า แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังคงเป็นเพียงข้อมูลดิบที่รอการนำมาประมวลและวิเคราะห์เพื่อนำผลที่ได้มาสร้างมูลค่าทางธุรกิจ ข้อมูลเหล่านี้อาจจะไม่ได้อยู่ในรูปแบบที่องค์กรสามารถนำไปใช้ได้ทันที แต่อาจมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรบางอย่างแฝงอยู่

Big Data มีคุณลักษณะสำคัญอยู่ 4 อย่าง คือ

  • ปริมาตร (Volume) หมายถึง ข้อมูลนั้นมันต้องมีขนาดใหญ่มาก ซึ่งไม่สามารถประมวลผลปริมาณของข้อมูลด้วยระบบฐานข้อมูลได้ จำเป็นต้องใช้คลังข้อมูล (Data Warehouse) และซอฟต์แวร์ฮาดูป (Hadoop) ทำงานประสานกันในการบริหารจัดการข้อมูล
  • ความเร็ว (Velocity) หมายถึง ข้อมูลดังกล่าวต้องมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ข้อมูลจากภาพถ่ายโทรศัพท์ที่ถูกอับโหลดขึ้น ข้อมูลการพิมพ์สนทนา ข้อมูลวิดีโอ รวมไปถึงข้อมูลการสั่งซื้อสิ้นค้า พูดง่าย ๆ คือ ข้อมูลที่มีการเพิ่มขึ้นตลอดเวลาแบบไม่มีหยุดยั้งนั่นแหละ
  • ความหลากหลาย (Variety) หมายถึง รูปแบบข้อมูลต้องมีความหลากหลาย อาจจะเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้าง ไม่มีโครงสร้าง และกึ่งมีโครงสร้าง ซึ่งผมไม่ขอลงลึกนะเพราะมันซับซ้อนมาก แต่เอาเป็นว่ารูปแบบข้อมูลของ Big Data มันมีทุกอย่าง ไม่ได้จำกัดแค่พวกข้อความ อีเมล์ รูปภาพ ฯลฯ เท่านั้น
  • Veracity ไม่สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลที่สมบูรณ์ เพื่อการประกอบการพิจารณาได้

การใช้ประโยชน์จาก Big Data

     ในปัจจุบันนี้ การนำ Big Data มาใช้ในภาครัฐ เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนและลดความเหลื่อมล้ำ โดยนำข้อมูลในระบบราชการจากหลายหน่วยงาน เช่น ข้อมูลสาธารณสุข ทะเบียนราษฎ์ ที่ตั้งของธุรกิจ โรงพยาบาล สถานบำบัด สถานการณ์จ้างงานฯ มาวิเคราะห์และการเชื่อมโยงกัน เกิดเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ Big Data ของภาครัฐ ผ่านกระบวนการวิเคราะห์เชื่อมโยงเพื่อตอบการให้บริการของภาครัฐ ตัวอย่างเช่น รัฐบาลต้องการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย แต่แทนที่จะช่วยเหลือโดยให้เงินอุดหนุนที่เท่าๆ กันแบบปูพรมทั้งประเทศ ก็นำ Big Data ซึ่งเป็นข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาใช้ชี้จำเพาะว่าบุคคลใดที่ถือว่ามีรายได้น้อย พร้อมทั้งกำหนดระดับและลักษณะความช่วยเหลือที่แตกต่างกัน เช่น ผู้มีรายได้น้อยที่สูงอายุ เป็นผู้พิการ อยู่กับบ้าน ให้ลูกหลานดูแล รัฐอาจช่วยโดยสนับสนุนขาเทียม ให้คูปองเข้ารับการทำกายภาพบำบัด  พร้อมทั้งเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับกายภาพของผู้สูงอายุ

     การฝึกอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ ให้กับผู้มีรายได้น้อย พร้อมทั้งจับคู่กับแหล่งงานที่อยู่ใกล้เคียงกับที่พักอาศัย อีกทั้งยังติดตามและเสนอโอกาสฝึกอาชีพใหม่ๆ เพิ่มเติม เพื่อให้มีรายได้ที่สูงขึ้นและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ซึ่งถ้าวิเคราะห์ดูจะเห็นว่า ข้อมูลจำนวนมากเกิดการบูรณาการและวิเคราะห์ เพื่อใช้สำหรับการตัดสินใจในการให้บริการของภาครัฐได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย โดยในปัจจุบันนี้ จะเห็นได้จากการใช้บัตรประชาชนเพียงบัตรเดียวก็สามารถเข้าถึงบริการภาครัฐได้มากขึ้น

     Big Data สำหรับภาคเอกชนที่นำมาใช้ประโยชน์ เช่น เว็บไซต์อี-คอมเมิร์ช ที่จัดเก็บข้อมูลพฤติกรรมการซื้อสินค้าของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง และมีระบบที่ทำหน้าที่คัดเลือกสินค้าอื่นๆ ที่คาดว่าลูกค้าจะต้องการเพิ่มเติม แล้วนำเสนอขึ้นมาให้โดยอัตโนมัติบนหน้าเว็บไซต์อี-คอมเมิร์ชของลูกค้ารายนั้นๆ ทั้งนี้ ลูกค้าแต่ละคน ไม่จำเป็นต้องนำเสนอสินค้าเดียวกัน จากการสังเกตพฤติกรรมการซื้อสินค้า พบว่าภาคเอกชนจะมีการเก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เพศ เชื้อชาติ อายุ ประวัติการซื้อสินค้า ชนิดสินค้า เวลาที่ซื้อ มูลค่าสินค้า นำมาวิเคราะห์จับคู่กับสินค้าอื่นที่มีศักยภาพ ทั้งนี้ เงื่อนไขหรือสูตรการจับคู่อาจแตกต่างกันไป ตามกลุ่มลูกค้าหรือประชากรในแต่ละประเทศ หรือตามกลุ่มสังคมหรือวัฒนธรรม

     นอกจากนั้น ภาคเอกชนได้นำข้อมูล Big Data มาใช้ประโยชน์ เพื่อยกระดับธุรกิจ ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีแชทบอท Chatbot ที่สามารถรับมือกับความต้องการข้อมูลของลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาจำนวนมหาศาลผ่าน Messaging Application ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ฉับไว พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง และนี่คือจุดเปลี่ยนสำคัญของการให้บริการที่จะเข้ามาใช้งานแทนคน (Agent)

     แม้ว่าเรื่องราวของ Big Data ฟังดูแล้วยุ่งยาก ไม่ว่าจะเป็นอุปสรรคในระหว่างการนำไปประยุกต์ใช้งาน ไปจนถึงการปรับกระบวนการทำงานใหม่ เพื่อให้เอื้อต่อการจัดเก็บข้อมูล อีกทั้งความจำเป็นที่จะต้องปรับนโยบายรัฐหรือเอกชนให้สอดคล้องกับการทำ Big Data ด้วยหรือไม่? จะทำได้สำเร็จหรือไม่? สารพัดเรื่องที่จะเกิดขึ้น

     Big Data ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่หลายคนกลัวหรือไม่เข้าใจ อาจเพราะมันใหญ่และมีรายละเอียดเยอะมาก จึงทำให้การใช้งาน Big Data ค่อนข้างมีอุปสรรค แต่แท้จริงแล้วอุปสรรคต่าง ๆ นี้ล้วนเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องเผชิญหน้า เพื่อพัฒนาและก้าวกระโดดต่อไป ขอเป็นกำลังใจให้เรียนรู้เรื่องไกล้ตัวนี้อย่างต่อเนื่อง  


 ยุค 5G/6G

ยุค 5G

ล่าสุดเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ถ้าใครติดตามแบไต๋อย่างต่อเนื่อง เราก็ได้เปิดเผยข้อมูลของอินเทอร์เน็ตในยุค 5G ซึ่งได้จากงาน HUAWEI MBB Forum 2017 ว่า มันคืออนาคตอันใกล้ของ 5G ที่เรากำลังก้าวไปถึง มีความสามารถต่าง ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกระจายสัญญาณได้สูงถึง 300 เมตร หรือสูงประมาณตึกใบหยกเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีค่าความหน่วงของการเชื่อมต่อที่ลดลงมาจนต่ำกว่า 20 มิลลิวินาที สามารถรับ – ส่งข้อมูลได้ที่ระดับ 20 Gbps โดยจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการพร้อมใช้งานจริง “ครั้งแรก” ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค TOKYO 2020 ที่ประเทศญี่ปุ่น และเริ่มมีการใช้งานจริงบ้างแล้วโดย BBC

ยุค 6G
และข่าวล่าสุดจากผู้นำสหรัฐอเมริกา donald trump ที่ออกมาประกาศให้โลกรู้ว่า เรากำลังมี อินเทอร์เน็ต 6G เร็ว ๆ นี้ โดยประกาศบน Twitter ไว้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ว่า

I want 5G, and even 6G, technology in the United States as soon as possible. It is far more powerful, faster, and smarter than the current standard. American companies must step up their efforts, or get left behind. There is no reason that we should be lagging behind on.........

 ซึ่งฟังดูแล้วแปลกที่อินเทอร์เน็ต 6G จะเข้ามามีบทบาทในเร็ว ๆ นี้ เพราะจากที่ผ่านมา ยุคของอินเทอร์เน็ตจะอยู่ไปอย่างน้อยอีก 10 ปี ก่อนที่จะมีการเริ่มพัฒนาเครือข่าย 6G และนำมาใช้งานอย่างจริงจัง และเรื่องนี้เริ่มเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกมาหลังจากที่ทรัมป์ ได้ประกาศศึก Tech War กับ Huawei จึงมีความเป็นไปได้ว่า สหรัฐฯ อยากหาทาง “ฉะ” กลับ Huawei เพราะเทคโนโลยี 5G ณ วันนี้ Huawei ถือเป็นผู้นำทางด้านนี้อย่างแท้จริง

แต่อย่างไรก็ตาม ล่าสุด Samsung ก็เปิดตัวเป็นบริษัทแรกที่ประกาศการลงทุนทางด้าน R&D ของ 6G อย่างเป็นทางการ พร้อมเปิดตัว Research Center แห่งใหม่เพื่อการพัฒนาด้านนี้โดยเฉพาะ ซึ่งใช้ทฤษฎีด้านโครงข่ายดาวเทียมในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่สามารถส่งได้รวดเร็วและมากกว่า 5G ไปอีกขั้น โดยได้รับความร่วมมือระหว่าง SK Telecom Ericsson และ Nokia ในการพัฒนา โครงข่ายทั้ง 5G และ 6G รวมไปถึงผู้ให้บริการเครือข่ายในจีน China Mobile และ Tsinghua University ได้ประกาศร่วมมือกันทดสอบอินเทอร์เน็ตและระบบอินเทอร์เน็ตบนสมาร์ตโฟนแบบใหม่, AI รวมไปถึงเทคโนโลยี 6G ด้วย แต่ทุกอย่างยังคงอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาเท่านั้น

และยังมีข้อมูลที่น่าสนใจจากกลุ่มนักวิจัยของ Jacobs University Bremen ซึ่งได้ศึกษาเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคต่อไปคือ ยุค 6G ซึ่งพบว่า จะเป็นการพัฒนาการสื่อสารเพื่อนำมาแก้ไขข้อบกพร่องของเทคโนโลยี 5G ในเรื่องทางกายภาพของคลื่น ทำให้มันสามารถทะลุทะลวงได้แบบไร้ขีดจำกัด พร้อมแก้ไขปัญหาทางด้านเทคโนโลยี AI เพราะเมื่อระบบ AI ทำงานไปได้สักพัก ก็จะเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง หลังจากนั้นจะมีระบบการสั่งการด้วยการเรียงลำดับความเป็นไปได้ เพื่อใช้ในการตัดสินใจของข้อมูล ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องรับส่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก มากยิ่งกว่าที่มนุษย์ใช้งานอยู่ในยุคปัจจุบันอย่างเทียบกันไม่ได้

สรุป

พอมาฟังดูแล้ว อินเทอร์เน็ต 6G นั้นก็ยังดูเป็นเพียงคอนเซปต์ที่สำหรับโลกอนาคตที่กำลังถูกพัฒนาอยู่ เพราะขนาด Wikipedia ยังไม่มีคำอธิบายเรื่อง 6G เลย แต่จากกระแสต่าง ๆ ที่ทยอยเปิดตัวมาก็ไม่แน่ว่าเราอาจจะได้เห็นอินเทอร์เน็ต 6G ในเวลาอันใกล้ก่อนปีคนเหล็ก 2029 ที่มี Skynet ก็เป็นได้



ฟอร์มของกุลธิดา

กำลังโหลด…